เมืองนครเตา (อำเภอรัตนบุรี)

                      

                         เมืิองนครเตา หรืออำเภอรัตนบุรีในปัจจุบัน เดิมที่มีชื่อว่า “หมู่บ้านบุ่งหวาย” หรือ “บ้านหวาย” ที่เรียกว่าบ้านหวายเพราะสมัยก่ิอนในบริเวณนั้นมีหวายจำนวนมากและชาวบ้านได้นำหวายไปทำประโยชน์ในครัวเรือน ส่วนคำว่า “บุ่ง” เป็นภาษาพื้นบ้าน หมายถึง ที่มีน้ำซึมออกมาอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอรัตนบุรีในปัจจุบัน ซึ่งชาวบ้านได้ใช้ทำนา มองเห็นเป็นทุ่งกว้างเรียกว่า “บุ่ง” มีสัตว์หลายชนิด เช่น เต่า ไม่ว่าเราเดินไปไหนมาไหนจะเห็นเต่าคลานอยู่เต็มไปหมด

                        ก่อนมีบ้านเมือง พื้นที่ของเมืองนครเตาเคยเป็นที่อยู่ของพวกขอมในสมัยเรืองอำนาจ ปากฎหลักฐาน เช่น ปราสาทหิน มี่ทั่วไปในอำเภอรัตนบุรี ปราสาทบ้านธาตุ ปราสาทบ้านสนม ปราสาทบ้านขุมดิน และยังมีศิลาแลงจมอยู่หลายแห่ง เช่น  บ้านดงเปือย ตำบลแก บ้านม่วงบุญมี ตำบลแก บ้านกางเกา ตำบลแก บ้านโกส้ม ตำบลน้ำเขียว บ้านคอนสรรค์ ตำบลไผ่ คาดว่าจะมีอายุใกล้เคียงกับสมัยที่สร้างปราสาทพิมาย นครธมที่หายสาบสูญจากพื้นที่  ต่อมามีพวกลาวอพยพมาแทนที่เรียกว่า ลัวะ หรือ ละว้า มารวมกันจึงเรียกว่า ลาวเหนือ ลาวกลาง ลาวใต้
ก่อนละว้าจะมาครอบครองเมืองสุรินทร์คืออำเภอรัตนบุรีในปัจจุบัน เคยเป็นแคว้นเจนละบก คือพวกเขมรกับพวกขอมปนกัน (ชาติผิวดำ) เจ้าเมืองคือ พระเจ้าจิตตะเสนเจละบก ภายหลังพวกละว้าได้เข้ายึด แคว้นเจนละบกจึงถูกทิ้งเป็นป่าร้างอยู่นานหลายพันปี ต่อมาชาวไทยพื้นเมืองในแคว้นจำปาศักดิ์  ได้พากันอพยพข้ามลำน้ำโขงเข้ามา โดยแยกกันหลายพวกมีหัวหน้าควบคุมและมาตั้งถิ่นฐาน ดังนี้

พวกที่ 1 บ้านเมืองทีี (บ้านเมืองที่ ต.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์)

พวกที่ 2 บ้านกุดหวาย บุ่งหวาย หรือเมืองนครเตา (อ.รัตนบุรี ในปัจจุบัน)