อาเซียน +6 คือ???

              อาเซียน +6
                           ประกอบด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน + จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย เป็นการรวมกลุ่มทางการค้า อย่างใกล้ชิดโดยสนับสนุนการขยายการค้าระหว่างกัน ร่วมมือและลดอุปสรรคทางการค้า หลีกเลี่ยงการนำมาตรการกีดกันทางการค้าใหม่ๆ ออกมาใช้ ประกอบกับนโยบายด้านการเงิน และการคลังที่ประเทศต่างๆให้กระตุ้นเศรษฐกิจและการบริโภคในประเทศ เพื่อก่อให้เกิดความต้านทางผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย และสามารถพยุงเศรษฐกิจให้เข้าสู่สภาวะปกติได้

เป็นการพัฒนาความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนของอาเซียน + 6 ที่จะนำไปสู่การจัดทำข้อตกลง FTA โดยการเปิดเสรีทางการค้า การบริการ และการลงทุนของอาเซียนทำให้ผู้ส่งออกของไทยได้รับสิทธิประโยชน์ในด้านภาษี ทำให้ไทยเกิดการขยายตัวในด้านการส่งออกสินค้า เช่นข้าว อัญมณี ยานยนต์ และชิ้นส่วนไปยังประเทศคู่ค้ามากขึ้น

อาเซียน +3 คือ???

อาเซียน + 3 คือการรวมกลุ่มประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ของประชาคมอาเซียนกับ จีน ญี่ปุ่น  สาธารณรัฐเกาหลี

                        พัฒนาการของอาเซียน + 3 เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2540 ช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์การเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยมีหารหารือระหว่างผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียน และผู้นำของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือน ธันวาคม 2540 ต่อจากนั้นได้จัดประชุมทุกปี

                       พ.ศ.2542 จัดตั้ง East Asia Vision Group (EAVG) เพื่อวางวิสัยทัศน์ความร่วมมือระหว่างกันและเสนอแนวคิดการจัดตั้งประชาคมอาเซียนตะวันออก (East Asia Community : EAc)
                        พ.ศ.2548 อาเซียน + 3 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้มีการลงนามในปฏิญญากัวลาลัมเปอร์กำหนดให้จัดตั้งประชาคมอาเซียนตะวันออก
                        24 ตุลาคม พ.ศ.2552 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน + 3 ครั้งที่ 12 เพื่อลงนามรับรองแถลงการณ์ที่ชะอำ,หัวหิน ว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหาร และการพัฒนาพลังงานชีวภาพ รวมถึงการจัดตั้งระบบสำรองข้าวฉุกเฉินอาเซียน + 3 และสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นผู้จัดตั้งกลไกความร่วมมือด้านการศึกษา
                     3 มิถุนายม พ.ศ.2552 ได้ออกแถลงข่าวว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน + 3 เพื่อรับวิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลก ในปัจจุบันความร่วมมือโดนการจัดตั้งกองทุนสำรองพหุภาคีภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่มีวงเงิน 1.2 แสนล้านดอลลาร์สกรัฐ มีจุดประสงค์เพื่อเป็นกลไกช่วยรักษาเสถียรภาพทางกานเงินในภูมิภาค เพื่อวิเคราะห์และติดตามสภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค

กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยอะไรบ้าง ???

     กฏบัตรอาเชียน ประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 หมวด 55 ข้อ ได้แก่
หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการของอาเซียน
หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฏหมายของอาเชียน
หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ (รัฐสมาชิก สิทธิและพันธกรณีของรัฐสมาชิก และการรับสมาชิกใหม่
หมวดที่ 4 โครงสร้างองค์กรของอาเซียน
หมวดที่ 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน
หมวดที่ 6 การคุ้มกันและเอกสิทธิ์
หมวดที่ 7 กระบวนการตัดสินใจ
หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท
หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงิน
หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน
หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน
หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์กับภายนอก
หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ???

                      

                     กฎบัตรอาเซียน

                                  เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของ ประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความ สัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และ เป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้
ทั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอดยอดเซียน ครั้งที่ 13เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ 40 ของการก่อตั้งอาเซียน แสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความก้าวหน้าของอา เซียนที่กำลังจะก้าวเดินไปด้วยกันอย่างมั่นใจระหว่างประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั้ง 10 ประเทศ และถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เป็น องค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2551 กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2551 เป็นต้นไป

ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 ประชาคมย่อย คือ???

               ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย  3 ประชาคมย่อย ดังนี้

              1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูป แบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

             2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Political-Security Community-AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน

            3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
ในตอนนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการให้บรรลุการเป็นประชาคมอา เซียนภายในปีเป้าหมาย 2558 โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในช่วงปลายเดือน ก.พ.2552 นี้ ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจะรับรองแผนงานหรือแผนกิจกรรมการจัดตั้งประชาคมการ เมืองและความมั่นคงอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ประชาคมอาเซียน คือ???

ประชาคมอาเซียน

                ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง

เมืองนครเตา (อำเภอรัตนบุรี)

                      

                         เมืิองนครเตา หรืออำเภอรัตนบุรีในปัจจุบัน เดิมที่มีชื่อว่า “หมู่บ้านบุ่งหวาย” หรือ “บ้านหวาย” ที่เรียกว่าบ้านหวายเพราะสมัยก่ิอนในบริเวณนั้นมีหวายจำนวนมากและชาวบ้านได้นำหวายไปทำประโยชน์ในครัวเรือน ส่วนคำว่า “บุ่ง” เป็นภาษาพื้นบ้าน หมายถึง ที่มีน้ำซึมออกมาอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอรัตนบุรีในปัจจุบัน ซึ่งชาวบ้านได้ใช้ทำนา มองเห็นเป็นทุ่งกว้างเรียกว่า “บุ่ง” มีสัตว์หลายชนิด เช่น เต่า ไม่ว่าเราเดินไปไหนมาไหนจะเห็นเต่าคลานอยู่เต็มไปหมด

                        ก่อนมีบ้านเมือง พื้นที่ของเมืองนครเตาเคยเป็นที่อยู่ของพวกขอมในสมัยเรืองอำนาจ ปากฎหลักฐาน เช่น ปราสาทหิน มี่ทั่วไปในอำเภอรัตนบุรี ปราสาทบ้านธาตุ ปราสาทบ้านสนม ปราสาทบ้านขุมดิน และยังมีศิลาแลงจมอยู่หลายแห่ง เช่น  บ้านดงเปือย ตำบลแก บ้านม่วงบุญมี ตำบลแก บ้านกางเกา ตำบลแก บ้านโกส้ม ตำบลน้ำเขียว บ้านคอนสรรค์ ตำบลไผ่ คาดว่าจะมีอายุใกล้เคียงกับสมัยที่สร้างปราสาทพิมาย นครธมที่หายสาบสูญจากพื้นที่  ต่อมามีพวกลาวอพยพมาแทนที่เรียกว่า ลัวะ หรือ ละว้า มารวมกันจึงเรียกว่า ลาวเหนือ ลาวกลาง ลาวใต้
ก่อนละว้าจะมาครอบครองเมืองสุรินทร์คืออำเภอรัตนบุรีในปัจจุบัน เคยเป็นแคว้นเจนละบก คือพวกเขมรกับพวกขอมปนกัน (ชาติผิวดำ) เจ้าเมืองคือ พระเจ้าจิตตะเสนเจละบก ภายหลังพวกละว้าได้เข้ายึด แคว้นเจนละบกจึงถูกทิ้งเป็นป่าร้างอยู่นานหลายพันปี ต่อมาชาวไทยพื้นเมืองในแคว้นจำปาศักดิ์  ได้พากันอพยพข้ามลำน้ำโขงเข้ามา โดยแยกกันหลายพวกมีหัวหน้าควบคุมและมาตั้งถิ่นฐาน ดังนี้

พวกที่ 1 บ้านเมืองทีี (บ้านเมืองที่ ต.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์)

พวกที่ 2 บ้านกุดหวาย บุ่งหวาย หรือเมืองนครเตา (อ.รัตนบุรี ในปัจจุบัน)    

  

แนะนำตัวเอง

ชื่อนางสาวพชรกมล พรหมประเสริฐ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3
เกิดวันที่ 2 เดือนธันวาคม พ.ศ.2539
ที่อยู่ 163 ม.9 ต.ไผ่ อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์ 32130
ปันจุบันศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเฉลิมพระเกรียติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ
อนาคตอยากเป็นแพทย์